ลูกรัก แพ้นมวัว

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

30 มีนาคม 2564

อ่านแล้วจำนวน

34772

เด็กๆ แพ้นมวัวมากขึ้นทุกวัน ทั้งที่พ่อแม่ดูแลอย่างดี กินนมแม่ และเลือกอาหารที่มีประโยชน์ก็แล้ว แต่อาจเพราะสภาพแวดล้อมและการกินของแม่เปลี่ยนไป จึงเป็นสาเหตุทำให้ลูกแพ้นมวัวได้

นมแม่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะมีสารอาหารต่างๆ ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ลูก ซึ่งส่วนที่เรียกว่า "หัวน้ำนม" หรือ น้ำนมเหลือง (โคลอสตรัม) จะเป็นน้ำนมที่มีประโยชน์สูงสุด เนื่องจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรคต่างๆ ทั้งโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง และโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด นอกจากนี้นมแม่ยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของลูกน้อยสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองขึ้นด้วย ดังนั้นลูกน้อยที่ดื่มนมแม่จะมีร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี ไม่ป่วยง่าย มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

แล้วเหตุใดลูกถึงแพ้นม

• แม่รับประทานอาหารที่กระตุ้นโรคภูมิแพ้ ซึ่งเด็กที่ได้รับนมแม่แล้วเกิดอาการแพ้นั้น อาจเกิดมาจากอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป เช่น ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ถั่ว อาหารทะเลต่างๆ และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ให้นมลูกไม่ได้ด้วย จึงควรรีบหาสาเหตุของการแพ้ให้เจอ หลังจากนั้นเมื่อทราบแล้วว่าลูกแพ้อะไร คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ลูกเกิดอาการแพ้ และกลับมากินนมแม่ได้อีกครั้ง

• ลูกน้อยที่มีคุณพ่อคุณแม่ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้นั้น จะมีโอกาสแพ้นมสูงกว่าเด็กปกติทั่วไป โดยการแพ้นมเกิดจากการแพ้โปรตีนที่ร่างกายได้รับ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีโดยเฉพาะ 6 เดือนแรก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเยื่อบุทางเดินอาหารและการดูดซึมยังทำงานไม่สมบูรณ์

อาการแพ้นมที่เกิดขึ้น

หากลูกเกิดอาการแพ้นมขึ้น ลูกจะมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ทั้งที่คันหรือไม่คันก็ได้ ปากบวม ตัวบวม มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสียถ่ายเป็นมูก บางครั้งก็เป็นมูกมีเลือดปนออกมา นอกจากนี้ยังคัดจมูก จามบ่อย มีน้ำมูกไหลเรื้อรัง หลอดลมบวม หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดังครืดคราด ในเด็กที่แพ้รุนแรงอาจช็อคและเสียชีวิตได้

อาการแพ้นมเกิดขึ้นตอนไหน

อาการแพ้นมของลูกสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ระดับด้วยกัน โดยระดับที่รุนแรงที่สุดคือ ร่างกายลูกจะแสดงอาการทันทีหลังจากได้รับนม ระดับต่อมาคือ หลังจากได้รับนม 2-3 ชั่วโมงไปแล้ว ถึงจะแสดงอาหาร และระดับสุดท้ายคือ หลังจากได้รับนม 48 ชั่วโมงไปแล้วค่ะ หลังดื่มนมเด็กบางคนไม่มีอาการทันทีในครั้งแรก แต่อาการอาจจะเกิดขึ้นหลังจากการดื่มนมหลายๆ ครั้ง แล้วค่อยแสดงอาการแพ้ก็ได้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของเด็กแต่ละคน หากลูกมีอาการแสดงว่าอาจแพ้นม คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยการแพ้นมอย่างละเอียด

ทางเลือกลดการแพ้นม

หากคุณแม่มีปัญหาเรื่องการให้นมบุตร จำเป็นต้องเสริมนมผงให้ลูกน้อย ควรเลือกนมผงให้ลูกน้อยอย่างเหมาะสม โดยพิจารณา ดังนี้

1. ปริมาณเบต้าแลคโตกลอบบูลิน

เบต้าแลคโตกลอบบูลิน เป็นโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เนื่องจากร่างกายย่อยได้ยาก จึงเหลือตกค้างอยู่ในลำไส้ กลายเป็นสารก่อแพ้ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมาในลักษณะต่างๆ ซึ่งปริมาณเบต้าแลคโตกลอบบูลินในนมชนิดต่างๆ(1) มีดังนี้

• นมแม่ไม่มีเบต้าแลคโตกลอบบูลิน

• นมวัวมีเบต้าแลคโตกลอบบูลิน 41%

• นมแพะมีเบต้าแลคโตกลอบบูลิน 14 %

คุณพ่อคุณแม่ควรต้องเลือกนมที่มีปริมาณเบต้าแลคโตกลอบบูลินต่ำที่สุด เพื่อให้ลูกห่างไกลและปลอดภัยจากภูมิแพ้มากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่านมแพะมีปริมาณเบต้าแลคโตกลอบบูลินน้อยกว่านมวัวถึง 3 เท่า โอกาสที่ทานนมแพะแล้วเกิดการแพ้จึงน้อยกว่านมวัว แต่อย่างไรก็ตามในนมแพะก็ยังมีเบต้าแลคโตกลอบบูลินอยู่ ดังนั้นโอกาสในการแพ้นมแพะก็อาจจะมีได้เหมือนกันนะคะ เพียงแต่โอกาสการแพ้จะน้อยกว่านมวัวเท่านั้นค่ะ

2. Bioactive Components

นมแม่มีระบบการให้น้ำนมแบบอะโพไคน์ ซึ่งจะมีสารอาหารจากธรรมชาติที่หลุดออกมาพร้อมกับน้ำนมในปริมาณสูงเรียกว่า Bioactive Components ตามธรรมชาติ นมแม่จึงเหมาะสำหรับลูกน้อยมากที่สุด โดยจะประกอบด้วย

• นิวคลีโอไทด์

• โกรทแฟคเตอร์

• โพลีเอมีน

• ทอรีน

ส่วนแพะมีระบบการให้น้ำนมแบบอะโพไคน์เหมือนกัน ดังนั้นนมแพะจึงมีนิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ (Natural Nucleotide) 5 ชนิดด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยให้ครบถ้วน ทำให้ลูกน้อยแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย นมแพะมีโกรทแฟคเตอร์ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและช่วยให้เกิดการพัฒนาของระบบลำไส้ และการย่อยที่สมบูรณ์ นอกจากนี้นมแพะยังมีโพลีเอมีนส์ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินอาหารให้ทำงานได้ดี และมีทอรีนช่วยให้การทำงานของจอประสาทดีขึ้นอีกด้วย

ในนมแพะจะมีปริมาณโปรตีนก่อแพ้หรือเบต้าแลคโตกลอบบูลินน้อยกว่านมวัวถึง 3 เบต้าแลคโตกลอบบูลิน คือ โปรตีนขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้นมวัว ร่างกายย่อยได้ยาก จึงเหลือตกค้างอยู่ใน ลำไส้กลายเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมาในลักษณะต่างๆ การดื่มนมแพะจึงมีโอกาสเกิดภูมิแพ้น้อยกว่าเด็กที่ได้รับนมวัว (Ref: H. Almaas et al, 2006)


                                              ลงทะเบียนรับฟรีนมแพะขนาดทดลอง คลิก