ทำความรู้จักกับ พรีไบโอติก (Prebiotic)

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

31 มีนาคม 2564

อ่านแล้วจำนวน

427

คุณแม่หลาย ๆท่านคงเคยสงสัยใช่มั้ยว่า พรีไบโอติก (Prebiotic) นั้นคืออะไร? 

มีคุณประโยชน์และให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างไร ?

และเพราะเหตุใด “พรีไบโอติก (Prebiotic) ในนมแพะ” จึงดีสำหรับเด็ก

เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนั้นเราจะทำมาความรู้จักกับพรีไบโอติกส์กันว่ามีคุณสมบัติพิเศษ และช่วยให้ดีต่อร่างกายอย่างไรได้บ้างค่ะ


พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ ใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร แต่จะไปเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะมีประโยชน์คือช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ เช่น ไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria), แลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) และช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคซัลโมเนลลา (Salmonella) และ อีโคไล (E. Coli) โดยเชื้อนี้จะถูกกำจัดออกทางระบบทางเดินอาหารไปพร้อมกับอุจจาระ จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร หมดปัญหาเรื่องท้องผูก และยังช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีอีกด้วย

สารอาหารที่ถูกจัดเป็นพรีไบโอติกนั้นจะต้องมีลักษณะ 3 ประการคือ

1. สารอาหารนั้นจะต้องไม่ถูกย่อย หรือดูดซึมในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก

2. สารอาหารนั้นต้องเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้

3. สารอาหารนั้นควรช่วยกระตุ้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

4. ซึ่งใยอาหารมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น โอลิโกฟรุกโตส อินนูลิน โอลิโกแซคคาไรด์ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรตที่พบได้ตามธรรมชาติ

การทำงานของพรีไบโอติก (Prebiotic) ในร่างกาย

พรีไบโอติกจะถูกย่อยในลำไส้ใหญ่ด้วยจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ โดยลำไส้ใหญ่ส่วนต้นจะมีการย่อยมากกว่าส่วนปลาย เนื่องจากค่าพีเอช (pH) ในปริมาณที่ต่ำอยู่ที่ 5 – 6 ทำให้จุลินทรีย์มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 

แต่ในลำไส้ส่วนปลายนั้น มีค่าพีเอช(pH) เป็นกลาง ทำให้จุลินทรีย์มีการเจริญเติบโตต่ำกว่า ซึ่งพรีไบโอติกนั้นจะถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ กรดไขมันนี้จะทำให้ค่าพีเอชลดลงมีผลไปยับยั้ง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค (Pathogenic Bacteria) ช่วยกระตุ้นให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต หยุดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ช่วยเพิ่มการตายตามธรรมชาติของเซลล์ (Apoptosis)

เราสามารถพบพรีไบโอติก (Prebiotic) ได้จากแหล่งอาหารใดบ้าง

พรีไบโอติก นั้นเราสามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด โดยส่วนใหญ่แล้วมักพบมากในผัก ชนิดต่าง ๆ เช่น หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม แอปเปิ้ล เมล็ดธัญพืชบางชนิด และ กล้วย นอกจากนี้เรายังสามารถพบ พรีไบโอติกใน “นมแพะ” อีกด้วย

ประโยชน์ของ พรีไบโอติก (Prebiotic)

1. ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ เช่น ไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria), แลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) และช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ซัลโมเนลลา (Salmonella) และ อีโคไล (E. Coli)

2. ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหารช่วยดูดซับสารพิษในทางเดินอาหาร ไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงช่วยให้อุจจาระมีกากใย อุจาระนิ่มและขับถ่ายง่าย

3. ช่วยป้องกัน การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย

4. เสริมสร้างการดูดซึม แร่ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้จะผลิตกรดไขมันสายสั้นที่มีความเป็นกรด เพื่อช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ

5. ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย

ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษเหล่านี้เองทำให้ พรีไบโอติกมีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็กและทารก และในนมแพะเองก็มีพรีไบโอติกหรือใยอาหารชนิด โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharides) อย่างอินนูลิน (Inulin) และโอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ลูกน้อยขับถ่ายได้ดีขึ้น ลูกน้อยจึงมีพัฒนาการที่ดีสมวัย

บทความที่เกี่ยวข้อง