ท้องนี้หายห่วง เทคนิคช่วยแม่ท้องตั้งรับ 5 ปัญหาที่คนท้องต้องเจอ!

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

30 มีนาคม 2564

อ่านแล้วจำนวน

158

โบกมือลา 5 ปัญหาเก่าๆ ที่ไม่ว่าท้องไหนก็ต้องเจอ ด้วยเทคนิคง่ายๆ ที่จะมาช่วยแม่ท้องรับมือปัญหาเหล่านี้ค่ะ

แพ้ท้อง 

ลักษณะอาการ

คลื่นไส้อาเจียน เหม็น เบื่ออาหาร ส่วนใหญ่เป็นช่วง 3 เดือนแรก บางคนเท่านั้นที่จะเป็นถึงช่วงใกล้คลอด

วิธีรับมือ

• ควรหลีกเลี่ยงกลิ่นหรืออาหารที่ทำให้คลื่นไส้ไปก่อน แต่ต้องกินอาหารอื่นทดแทนเพื่อให้ยังได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ซุป ข้ามต้ม โจ๊ก ฯลฯ 

• จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ และสูดอากาศบริสุทธิ์จะช่วยลดอาการคลื่นไส้แพ้ท้องได้

• พกแคร็กเกอร์ธัญพืช และไม่ปล่อยให้ท้องว่างเพื่อลดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ 

ปัสสาวะบ่อย 

ลักษณะอาการ

ปวดปัสสาวะบ่อย เพราะมดลูกขยายตัวเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้จุปัสสาวะได้น้อยลง บางครั้งก็มีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ

วิธีรับมือ

• ทางที่ดีที่สุดคือเมื่อปวดปัสสาวะเมื่อไหร่ต้องรีบเข้าห้องน้ำ ไม่กลั้น และต้องรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

• แม่ท้องที่เริ่มเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ควรเลือกที่นั่ง ห้องนอน หรือย้ายมาใกล้ห้องน้ำให้มากขึ้น และใส่รองเท้าที่พื้นมียางกันลื่น เพื่อป้องกันการลื่นล้มในห้องน้ำ

ท้องผูก 

ลักษณะอาการ

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีผลต่อการยืดขยายตัวของกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร ทำให้ระบบการย่อยทำงานช้าลง และเกิดอาการท้องผูก

วิธีรับมือ

• เพิ่มอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำสะอาดมากขึ้นกว่าเดิม หรือลองเพิ่มนมแพะที่มีคุณสมบัติย่อยง่าย ดีต่อระบบย่อยอาหาร เพื่อช่วยระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น

• เสริมด้วยนมแพะ ที่มีใยอาหาร 2 ชนิดช่วยในการขับถ่าย

• หากเข้าห้องน้ำที่เป็นชักโครก ควรมีเก้าอี้เล็กรองเท้าเหยียบไว้ เพื่อให้ช่วงท้องมีการงอในท่าที่เหมาะกับการขับถ่าย จะช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น 

ตะคริว 

ลักษณะอาการ

กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ทำให้รู้สึกปวด เช่น น่อง ปลายเท้า ได้บ่อยๆ เพราะเกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำหรือการไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก

วิธีรับมือ

• เวลานอนให้ใช้หมอนหนุนเท้าหรือขาให้ยกสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย และควรเปลี่ยนท่านอน ไม่ควรนอนท่าเดิมนานๆ 

• เพิ่มมื้ออาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลา ผักใบเขียว และนม

อาการบวมน้ำ 

ลักษณะอาการ

เกิดจากการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อมากกว่าปกติ ทำให้มีอาการบวมหลังเท้า แต่ถ้ามีอาการบวมร่วมกับอาการอื่น เช่น ปวดหัว ตาพล่ามัว หรือมีอาการบวมมากผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ

วิธีรับมือ

• ลดและเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มหรืออาหารโซเดียมสูงเพื่อลดอาการบวม 

• ลองแช่เท้าในน้ำอุ่นหลังจากเดินหรือยืนเป็นเวลานาน จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและลดอาการเท้าบวม และเลือกใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดการบีบเท้า

คุณแม่ท้องอย่าลืมนำเทคนิคดีๆ เหล่านี้ที่พี่แพะนำมาฝากไปลองใช้เพื่อลดอาการกวนใจนะคะ

judolbet88 slot gacor judolbet88 slot judolbet88 login