ป้องกัน ดูแล โรคอีสุกอีใสให้ลูกน้อย

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

01 เมษายน 2564

อ่านแล้วจำนวน

181

โรคอีสุกอีใส แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง เป็นแล้วหาย แต่ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กๆ ก็ทำให้เขาทรมานไม่น้อย จนทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลใจ เวลาที่เห็นลูกแสบคัน ร้องไห้งอแงก็ทำเอาใจของพ่อแม่เกือบสลายได้เหมือนกัน แบบนี้มาหาวิธีรับมือ เพื่อจะช่วยบรรเทาอาการให้ลูกน้อยกันดีกว่า   



อีสุกอีใส โรคธรรมดาที่ไม่น่ารัก

โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Varicella zoster virus) ซึ่งอาการจะมีผื่นและตุ่มใสๆ ขึ้นตามตัว ลักษณะของผื่นจะค่อยๆ ขึ้นที่ละระลอก ขึ้นเป็นกลุ่มๆ ไม่ขึ้นพร้อมกัน กระจัดกระจายตามร่างกาย บางทีจะออกเป็นผื่นแดงราบ บางทีเป็นตุ่มน้ำใสๆ บางทีเป็นตุ่มมีหนอง และจะค่อยๆ เริ่มตกสะเก็ด และหายไปภายใน 7-10 วัน

ช่วงที่ผื่นและตุ่มใสๆ ขึ้น จะทำให้มีอาการคัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กๆ ต้องเกา บางครั้งเผลอเกามากจนเป็นแผลอักเสบ ติดเชื้อ และร่องรอยที่เจ้าตุ่มใสทิ้งไว้ให้เด็กๆ ก็คือแผลเป็นที่ไม่น่ารักเอาซะเลย

เจ้าโรคนี้จะพบมากในเด็กอายุระหว่าง 5 – 12 ปี รองลงมากลุ่มเด็กเล็กอายุ 1 – 4 ปี และกลุ่มวัยรุ่น วัยหนุ่มสาวตามลำดับ เป็นโรคที่ติดต่อผ่านทางการไอ จาม สัมผัสถูกตุ่มใสโดยตรง และสัมผัสของใช้ของผู้ที่เป็นโรคนี้ โดยจะมีระยะการฟักตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์และช่วงที่แพร่ระบาดมากที่สุดคือช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ดังนั้นต้องป้องกันและเตรียมรับมือไว้ก่อนที่ลูกจะเป็น 

6 วิธี ป้องกัน & ดูแล โรคอีสุกอีใสให้ลูกน้อย 

1. ต้องแยกเด็กไปอยู่ห้องอื่น หากในบ้านมีคนป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส ต้องแยกเด็กไปอยู่ห้องอื่น ยิ่งบ้านไหนมีเด็กหลายคนต้องแยกคนละห้องก่อน เพื่อป้องกันลูกอีกคนติดเชื้อ

2. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นของใช้ ของเล่น หรือของกิน ช่วงนี้ควรแยกใช้ชั่วคราวก่อน

3. ควรให้ลูกหยุดโรงเรียนก่อนจนกว่าจะหาย ถ้าโรงเรียนมีการระบาด หรือถ้าลูกเป็นควรให้ลูกหยุด ก่อนเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

4. พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำสะอาดมากๆ

5. ทายาแก้คัน และใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิปกติค่อยๆ เช็ดตามตัว หากลูกมีอาการคันมาก ร้องไห้งอแง ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่เกาแผล ทายาช่วยบรรเทาอาการคันได้

6. ฉีดวัคซีนป้องกัน เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป และฉีดซ้ำอีกครั้งช่วงอายุ 4-6 ปี แม้จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% ฉีดแล้วก็สามารถเป็นได้ แต่จะช่วยบรรเทาอาการจากหนักเป็นเบาได้

และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือให้ลูกได้รับโภชนาการที่ครบถ้วน เพราะสารอาหารสำคัญจะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้ อย่าง “นมแพะ” นั่นเพราะ“นมแพะ” มีระบบการสร้างน้ำนมแบบ อะโพไครน์ (Apocrine Secretion) ทำให้มีสารอาหารจากธรรมชาติในปริมาณสูง ที่สำคัญยังมี “พรีไบโอติก” ชนิด Oligosaccharide เช่น Inulin และ Oligofructose ซึ่งเป็นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในกระเพาะอาหาร เพราะทนต่อน้ำย่อย กรด ด่าง ในกระเพาะและลำไส้ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น แลคโตบาซิลัส และบิฟิโดแบคทีเรีย จึงช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ผลที่ตามมาคือ ห่างไกลจากโรคอีสุกอีใส