10 เคล็ดลับ พัฒนาทักษะด้านภาษาให้ลูก

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

31 มีนาคม 2564

อ่านแล้วจำนวน

98

ภาษาคือจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ เสียงแรกที่ลูกเปล่งออกมา นั่นหมายความว่าพัฒนาการภาษาขั้นแรกของลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว ช่วงเวลานี้เองจึงเป็นโอกาสที่จะส่งเสริมให้ลูกมีทักษะด้านภาษาให้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นการกระตุ้นให้สมองมีพัฒนาการที่ดีตามไปด้วย ซึ่งจะต่อยอดให้ลูกเป็นนักเรียนรู้ นักคิดในอนาคตได้ไม่ยาก 


ลำดับพัฒนาการภาษาของลูกรัก 

• เริ่มจากใช้เสียงร้องไห้บอกความต้องการ เช่น หิว ไม่สบายตัว 

• ต่อมาเริ่มจำเสียงแม่ได้ หันตามเสียง เริ่มส่งเสียงในลำคอ เช่น อู อา หรือส่งเสียงเอิ๊กอ๊ากเมื่อรู้สึกมีความสุข 

• เริ่มออกเสียงได้หลากหลายมากขึ้น ส่งเสียงสูงต่ำ เป่าปาก เล่นน้ำลาย 

• เข้าใจความหมายได้มากขึ้น เริ่มออกเสียงเป็นคำๆ บอกความต้องการ เช่น มาๆ ปาๆ หรือส่งเสียงเรียกคนรอบข้าง 

• ออกเสียงพยางค์เดียวได้ เช่น พ่อ แม่ 

• บอกชื่อตัวเองได้ ออกเสียงที่มีความหมายได้หลายคำ และเรียกชื่อสิ่งต่างๆ ที่คุ้นเคยได้

• พูดเป็นประโยคสั้นๆ ได้ พูดตอบโต้ และร้องเพลงสั้นๆ ได้แล้ว 

10 เคล็ดลับ พัฒนาทักษะด้านภาษาให้ลูก 

ช่วงที่ลูกกำลังเริ่มพูด มีความเข้าใจและสื่อสารได้มากขึ้นนี่เอง 

เป็นช่วงเหมาะที่คุณพ่อคุณแม่จะส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการด้านภาษาให้ดียิ่งขึ้น ด้วยเคล็ดลับดังนี้ 

1. ชวนลูกพูดคุย โดยใช้น้ำเสียงสูงต่ำและคำที่ชัดเจน พูดประโยคสั้นๆ เข้าใจง่าย เช่น นั่นแมว หิวข้าวไหม เล่นบอลไหม 

2. พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ด้วยท่าทางที่ยิ้มแย้ม หยอกล้อให้ลูกหัวเราะ เป็นการกระตุ้นให้ลูกอยากคุยโต้ตอบ และยังช่วยกระตุ้นการจดจำ ทำให้สมองมีการพัฒนาได้ดีมากขึ้น 

3. ฟังลูกอย่างตั้งใจ ลูกจะรับรู้ว่าคุณแม่ตั้งใจฟังอยู่ จะยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ลูกอยากพูดคุย เปล่งคำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้นด้วย 

4. ชี้ให้ดูภาพ พูดคุยเกี่ยวกับภาพนั้นด้วยคำง่ายๆ เช่น นี่สีอะไร นี่ตัวอะไร เป็นต้น 

5. สอนลูกให้พูดคำทักทายง่ายๆ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย จุ๊บๆ 

6. เล่านิทานให้ลูกฟัง หรือร้องเพลงให้ฟัง แล้วชวนให้ลูกพูดตาม 

7. กระตุ้นให้ลูกตั้งคำถามอยู่เสมอ และตอบคำถามของลูกทุกครั้งที่ลูกถาม

8. เล่นทายอะไรเอ่ยกับลูก เช่น ทายสิ ลูกกลมๆ ที่อยู่ในกล่องสีอะไร 

9. ฝึกนับจำนวนสิ่งของใกล้ตัว

10. ชวนลูกพูดคุยระหว่างเดินทาง ชี้ชวนให้ลูกดูรถ ดูป้ายต่างๆ เป็นการฝึกให้ลูกสังเกตและจดจำสิ่งรอบตัวได้ด้วย 

เผยเคล็ดลับอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้ คือการให้ลูกได้กินอาหารที่มีโภชนาการครบถ้วน เพื่อให้ร่างกายและสมองเจริญของลูกน้อยเติบโตสมวัย อย่างนมแพะที่อุดมไปด้วยโปรตีน CPP (Casein Phosphopeptides) โปรตีนนุ่ม ที่ย่อยง่าย และยังดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม เข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพรีไบโอติก (Prebiotic) หรือใยอาหาร ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดี ทำให้จุลินทรีย์ชนิดดีเพิ่มจำนวนขึ้น ช่วยลดอาการท้องเสีย ท้องผูก และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรักมีพลังพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างไร้ขีดจำกัด

บทความที่เกี่ยวข้อง