ไขข้อข้องใจ คุณแม่ให้นมติดโควิด หรือเพิ่งหายจากโควิด สามารถให้นมลูกได้ไหม

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

25 กันยายน 2564

อ่านแล้วจำนวน

394

            นมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดต่อทารกแรกเกิด เพราะมีทั้งสารอาหารและวิตามินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของทารก แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้คุณแม่ที่กำลังมีลูกน้อยเกิดความกังวลถึงปัญหาที่ว่า ถ้าหากตนเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะส่งผลถึงลูกน้อยหรือไม่ และจะมีวิธีการให้นมที่ปลอดภัยได้อย่างไร 

 


เมื่อคุณแม่ให้นมติดโควิด

            หากคุณแม่ให้นมได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 โอกาสที่ลูกน้อยจะติดจากคุณแม่ไปด้วยนั้นมีน้อยมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลย คุณแม่ทั้งหลายจึงควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ เพื่อหาวิธีรับมือได้อย่างทันท่วงที  และเมื่อทราบว่าตัวเองติดเชื้อในระหว่างการให้นมลูก ให้ตั้งสติและพยายามทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ และควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน


คุณแม่ติดโควิด สามารถให้นมลูกได้ไหม?

            ในคุณแม่ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการศึกษาแล้วว่าไม่พบเชื้อในน้ำคร่ำและน้ำนม คุณแม่ที่ติดเชื้อสามารถให้นมลูกน้อยได้ตามปกติ ซึ่งน้ำนมแม่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและช่วยปกป้องลูกน้อยจากการติดเชื้อและการเจ็บป่วย โดยวิธีการให้นมลูกอาจจะเป็นการเก็บน้ำนมแช่ไว้แล้วให้คุณพ่อ หรือ คนในครอบครัว เป็นคนช่วยป้อนนมให้ลูกน้อย หรือสามารถเอาลูกน้อยเข้าเต้าได้เช่นกัน โดยมีข้อควรระวัง ดังนี้

1. ควรล้างมือก่อนและหลังสัมผัสลูกน้อยทุกครั้ง 

            หากกรณีที่คุณแม่ต้องปั๊มนมแช่เก็บไว้ในตู้เย็น ควรล้างอุปกรณ์ ภาชนะ ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง



2. ทำความสะอาดเต้านมและพื้นที่ให้นม 



3. ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งขณะที่ให้นม


           

            สิ่งที่สำคัญที่สุดของคุณแม่ให้นมที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19  คือ การระมัดระวังตัวเองไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ลูกน้อย แม้ว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากคุณแม่สู่ลูกนั้นไม่ได้ติดกันผ่านน้ำคร่ำหรือน้ำนม แต่ก็ต้องระวังการสัมผัสน้ำลาย และสารคัดหลั่งที่มาจากการไอหรือจาม ความสะอาดจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ นอกจากนี้คุณแม่ที่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19  แนะนำงดให้นมหลังจากได้รับวัคซีน 24 – 48 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยที่อาจส่งผลจากน้ำนมของคุณแม่ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง