Bioactive Components ในนมแพะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย 

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

01 เมษายน 2564

อ่านแล้วจำนวน

192

คุณแม่รู้ไหมคะ ว่าเด็กอายุ 1- 3 ขวบ สมองกำลังสร้างเซลล์อย่างรวดเร็วมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า ดังนั้นถือเป็นโอกาสทองที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพสมองให้ลูกในวัยนี้นะคะ เพื่อให้ร่างกายและสมองของลูกเรียนรู้ได้ดี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

Bioactive Components คืออะไร?

Bioactive Components (ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์) คือสารอาหารจากธรรมชาติที่มาจากระบบการสร้างน้ำนมที่เรียกว่า อะโพไครน์ (Apocrine) ระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์นั้นจะทำให้มีเยื้อหุ้มเซลล์น้ำนมหลุดมาพร้อมกับน้ำนม ทำให้น้ำนมมีคุณค่าทางโภชนาการสูงซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อลูกรัก 4 ชนิด ได้แก่  นิวคลีโอไทด์  ทอรีน  โพลีเอมีนส์ และโกรทแฟคเตอร์ 

1. นิวคลีโอไทด์

นิวคลีโอไทด์ เป็นส่วนสำคัญของการสร้าง DNA และ RNA ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย นิวคลีโอไทด์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์ในร่างกาย มีหน้าที่เผาผลาญสลายอาหารเพื่อให้ได้เป็นพลังงาน

2. ทอรีน

ทอรีน มีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย หากของลูกน้อยได้รับในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยให้ระบบประสาทและสมอง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ลูกมองเห็นได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

3. โพลีเอมีนส์

โพลีเอมีนส์ อีกหนึ่งสารอาหารจากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพของลูก มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่สำคัญมีส่วนช่วยส่งเสริมระบบทางเดินอาหาร 

4.โกรทแฟคเตอร์

โกรทแฟคเตอร์ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของลูก ช่วยให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ผิวหนังเจริญเติบโต เสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ที่สำคัญช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของลูก มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วย 

Bioactive Components (ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์) พบมากในน้ำนมที่มาจากระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ (Apocrine) ซึ่งระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์นั้นนอกจากในคนแล้วก็มีในแพะค่ะ จึงทำให้นมแพะมี Bioactive Components (ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์) ในปริมาณสูงเช่นกัน 

และในนมแพะยังมีโปรตีนที่ย่อยและดูดซึมง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งยังมีพรีไบโอติก (Prebiotics) หรือใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนบน ทำให้ผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ใหญ่ จึงช่วยลดปัญหาท้องผูก และช่วยป้องการติดเชื้อได้เป็นอย่างดีค่ะ (Ref. Neveu et al. Reprod Nutr Dev. 2002; 42:163-172.)

 


บทความที่เกี่ยวข้อง