อัพเดทโรคฮิต หน้าฝน รู้ก่อน ระวังทัน ป้องกันได้

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

01 เมษายน 2564

อ่านแล้วจำนวน

42

ไม่อยากให้ลูกรักเป็นเหยื่อของเชื้อโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน คุณแม่ต้องรีบอ่าน เพราะต่อให้เชื้อโรคจะมีมากแค่ไหน หากคุณแม่รู้ก่อน จะได้ระวังอย่างทันท่วงที เราสามารถป้องกันได้ค่ะ ลูกแม่ต้องผ่านหน้าฝนไปได้แบบสุขภาพดี ไม่ป่วยง่ายแน่นอนค่ะ 

โรคไข้ปวดข้อ (ชิคุนกุนยา)

โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้เลือดออกมีพาหะนำโรคเดียวกัน คือ ยุงลาย ทำให้อาการคล้ายคลึงกันมาก แต่โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงที่น้อยกว่า และสามารถสังเกตอาการของโรคได้เบื้องต้นดังนี้ค่ะ

วิธีป้องกัน 

• ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 

• ไม่ให้ยุงกัด สวมใส่เสื้อผ้าสีสว่าง และมิดชิด

• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ

หมายเหตุ : ระมัดระวังไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำโดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ

โรคไข้เลือดออก 

โรคร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคซึ่งยุงลายจะเพาะพันธุ์ได้ดีในหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาท่วมขังอาการเริ่มต้นคือมีไข้สูงมากไข้ไม่ยอมลดเบื่ออาหารอ่อนเพลียเซื่องซึม

วิธีป้องกัน

• ควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค

• การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคด้วยการดูแลตัวเองโดยป้องกันไม่ให้ยุงกัดเช่นการนอนในมุ้งหรือทายากันยุง

• เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วย

• ออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

โรคตาแดง 

ความชื้นที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสทำให้โรคตาแดงระบาดและติดต่อกันได้ง่ายในหน้าฝนโดยสามารถติดต่อได้ทั้งทางการไอจามและการสัมผัสเชื้อจากตาสู่ตาผ่านทางมือแมลงหรือสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน

วิธีป้องกัน

• หากมีน้ำสกปรกเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที

• ไม่คลุกคลีหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย

• ห้ามใช้มือขยี้ตา

• รักษาความสะอาดเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวอยู่เสมอ


โรคไข้หวัด

แน่นอนว่าโรคหน้าฝนยอดฮิตคงหนีไม่พ้นโรคไข้หวัด สาเหตุของโรคเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนบวกกับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ช่วงฤดูฝน

วิธีป้องกัน

•หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยเนื่องจากเชื้อไวรัสติดต่อผ่านทางการหายใจ

•หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หากต้องหยิบจับสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

•ไม่ควรใช้มือสัมผัสกับปากจมูกและตาโดยที่ไม่ได้ล้างมือก่อนเพราะอาจทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้

•สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปในที่สาธารณะ 

•หลีกเลี่ยงการพาลูกน้อยไปในที่ชุมชน หรือแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก 

โรคอุจจาระร่วง 

อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร สาเหตุของโรคเกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียเชื้อไวรัสโปรโตซัวปรสิตหนอนพยาธิและเชื้อไวรัสโรต้าโดยเชื้อจะปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม

วิธีป้องกัน

• ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินโดยควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ

• ทำความสะอาดผักผลไม้ และล้างมือทุกครัเงก่อนปรุงอาหารให้ลูก

• ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร

• ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารหรือยึดหลัก “กินร้อนช้อนกลางล้างมือ”

วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นดูแลความสะอาด รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะครบถ้วน 5 หมู่อย่างหลากหลาย และที่สำคัญคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของลูกรัก หากพบความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่ะ

นอกจากวิธีป้องกันที่กล่าวมาแล้ว การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งในนมแพะมีสารอาหารจากธรรมชาติที่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยให้แข็งแรง ไม่ป่วยง่ายได้ เนื่องจากนมแพะมีระบบการให้น้ำนมแบบ "อะโพไครน์" ทำให้มีสารอาหารครบถ้วนที่มีประโยนช์สูง อาทิ ใยอาหารทั้ง 2 ชนิด คือ อินนูลิน โอลิโกฟรุคโตส และนิวคลีโอไทด์ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กที่ดื่มนมแพะมีสุขภาพแข็งแรงนั่นเองค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง