ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

01 เมษายน 2564

อ่านแล้วจำนวน

30

ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ที่สูดดมเข้าไปนะคะ เมื่อพบว่าค่าฝุ่นละอองเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นจนมีอันตรายต่อสุขภาพ จำเป็นที่จะต้องป้องกันด้วยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง และงดกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้งค่ะ

4 สารเคมีอันตรายที่แฝงอยู่ในฝุ่นพิษ PM2.5

1. P-A-Hs เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไปจนถึงควันบุหรี่ เจ้าสารพิษตัวนี้เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

2. ปรอท เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันและถ่านหิน ระเหยเป็นไอ สารจะตกค้างยาวนานและฟุ้งกระจายได้ไกล ความรุนแรงของปรอทจะเข้าไปทำลายระบบประสาท ส่งผลให้เป็นอัมพาต มะเร็ง ไปจนถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ 

3. สารหนู เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และยาฆ่าแมลง ส่งผลให้เกิดโรคผิวหนัง มึนชา อยากอาเจียน และมีผลต่อระบบประสาท

4. แคดเมียม เป็นโลหะหนักที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหมืองแร่สังกะสี สารเคมีตัวนี้จะเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ปอด ทางเดินอาหาร หรือกระดูก

 

เลือกหน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้

• หน้ากากอนามัยชนิด N95

หน้ากากอนามัยชนิด N95 มีความสามารถในการกรองฝุ่นละอองขนาด 0.1-0.3 ไมครอน ได้ 95% เป็นอย่างน้อย มีน้ำหนักเบา สวมใส่ง่าย มี 2 แบบคือ ชนิดมีวาล์วเปิด-ปิด เพื่อให้สะดวกในการหายใจ กับชนิดที่ไม่มีวาล์วปิด ชนิดนี้จะหายใจลำบากกว่าแต่จะมีราคาที่ถูกกว่า

• หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น (หน้ากากอนามัยปกติ)

หากหน้ากากชนิด N95 ขาดตลาด สามารถสวมทับกัน 2 ชั้น แล้วใช้แม็กเย็บด้านข้างทั้ง 2 ข้างเพื่อกันเผยอ หรือซ้อนด้วยทิชชู่ 2 ชั้นด้านใน โดยกดขดลวดให้แนบกับใบหน้าแล้วดึงส่วนล่างของหน้ากากให้คลุมถึงใต้คาง ก็สามารถใช้ทดแทนหน้ากากอนามัยชนิด N95 ได้เช่นกัน แม้จะมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองไม่เทียบเท่ากับหน้ากากอนามัยชนิด N95 แต่ก็ดีกว่าที่ไม่มีอะไรป้องกันเลย

สิ่งสำคัญคือการใส่หน้าการอนามัยให้กระชับ ครอบจมูกและปาก และควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหน้ากากอนามัยมาสวมใส่ หากเป็นหน้ากากอนามัยชนิด N95 สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง แต่หากมีฝุ่นละอองที่หนาเกินไป หรือมีรอยฉีกขาด ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ แต่สำหรับหน้ากากอนามัยปกติไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำเลยเพราะจะเป็นการสะสมของเชื้อโรคค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : 

• Themomentum.co

• rakluke.com

• mgronline.com

บทความที่เกี่ยวข้อง