เคล็ดไม่ลับ เมื่อลูกขับถ่ายท้องเสีย

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

30 มีนาคม 2564

อ่านแล้วจำนวน

1653

เมื่อภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่แข็งแรงพอ แถมมักหยิบจับสิ่งของต่างๆเข้าปากโดยตรงและชอบดูดนิ้วมือ ทำให้ลูกได้รับเชื้อแบคทีเรีย และบางครั้งอาจติดเชื้อไวรัสได้อีกด้วยเชื้อเหล่านี้ก็ปนเปื้อนอยู่บนสิ่งของใกล้ตัวลูกอย่างของเล่นนี่แหละค่ะ คราวนี้คุณแม่คงกังวลใจไม่น้อยเลยหละค่ะ เรามาช่วยกันดูแลป้องกันไม่ให้ลูกของเราอยู่ไกลจากสิ่งเหล่านี้กันดีกว่านะคะ

การป้องกันลูกท้องเสีย

• รักษาสุขอนามัยในเรื่องอาหารและน้ำดื่มรวมทั้งสิ่งของภายในบ้าน

• ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ

• หากเด็กกินนมผสม ควรต้มหรือนึ่งขวดนมและจุกนมนาน 5-10 นาทีก่อนใช้ทุกครั้ง โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค โรคไทฟอยด์ และโรคติดเชื้อไวรัสโรตา

การดูแลเมื่อลูกท้องเสีย

• รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เน้นอาหารจำพวกแป้ง มีปริมาณโปรตีนเล็กน้อย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเส้นใย ได้แก่ ผักและผลไม้ ลดปริมาณของอาหารแต่ละมื้อ และเพิ่มจำนวนมื้ออาหาร

• ดื่มน้ำเกลือแร่ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง แนะนำให้ใช้ผงเกลือแร่ชนิดซองโดยผสมในน้ำต้มสุกในสัดส่วนตามที่ระบุไว้ที่ซอง

• กรณีที่เด็กไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็คโตสในนมวัวได้ ควรเปลี่ยนนมชั่วคราวเป็นเวลา 3-7 วัน โดยเลือกใช้นมสำหรับเด็กท้องเสียซึ่งจะไม่มีน้ำตาลแล็คโตส

• ไม่ควรใช้ยาแก้ท้องเสียหรือยาช่วยหยุดถ่ายกับเด็ก เนื่องจากจะทำให้สารพิษหรือเชื้อโรคตกค้างในร่างกายนานขึ้น

• ยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม antibiotic อาจมีประโยชน์ในกรณีอุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นอหิวาตกโรคซึ่งไม่ครอบคลุมถึงเชื้อโรตาไวรัส แต่ควรอยู่ในความดูแลจากแพทย์

• เลือกยาที่ปลอดภัยต่อเจ้าตัวเล็กโดยควรปรึกษาเภสัชกร อาทิ กลุ่มดูดซับ (Absorbent antidiarrhea) จะจับเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส อาทิ ไดออกตะสเมคไท (Dioctahedralsmectite) ซึ่งออกฤทธิ์เฉพาะบริเวณทางเดินอาหารโดยปกป้องลำไส้ไม่ให้ถูกทำลาย จึงสามารถใช้ได้ทั้งแด็กแรกเกิดขึ้นไป กรณีมีอาการอาเจียนและปวดท้องร่วมด้วย สามารถให้ยาตามอาการได้

อาการลูกท้องเสียเมื่อใดต้องพบแพทย์

กรณีที่เด็กไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ อุจจาระมีมูกเลือด มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง มีอาการหอบเหนื่อย ซึมลง ไม่ปัสสาวะ ไข้สูง หากอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน 4-5 วัน เป็นเรื้อรังหรือเป็นๆหายๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง