น้ำหนักตัวเมื่อตั้งครรภ์ แค่ไหนถึงพอดี

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

30 มีนาคม 2564

อ่านแล้วจำนวน

179

คุณแม่หลายคนสงสัยว่าน้ำหนักตัวเท่าไหร่ถึงจะพอดีกับช่วงตั้งครรภ์ ก่อนอื่นเลย ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายต้องรู้ก่อนว่า ตัวเองมีน้ำหนักมากน้อยกว่ามาตรฐานหรือไม่ 

โดยเฉลี่ยแล้วระหว่างตั้งครรภ์แม่ท้องควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10-15 กิโลกรัม ซึ่งคุณแม่จะสังเกตได้จากน้ำหนักตัวที่แปรผันดังนี้

ไตรมาสที่ 1 

น้ำหนักจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก บางคนอาจน้ำหนักตัวลดลงเนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ดังนั้นหากน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นก็มักไม่เกิน 2 กิโลกรัม

ไตรมาสที่ 2 

ร่างกายคุณแม่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง น้ำหนักค่อยๆ เพิ่มขึ้น เดือนละ 1-1.5

ไตรมาสที่ 3 

ช่วงนี้ลูกจะเจริญเติบโตเร็วมาก รูปร่างคุณแม่ก็จะเปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน โดยน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม หรือประมาณเดือนละ 2-2.5 กิโลกรัม

แม่ท้องหนักเท่าไหร่ถึงพอดี

คุณแม่แต่ละคนมีรูปร่างที่แตกต่างกัน ดังนั้นการคำนวณหาค่า BMI (Body Mass Index) จะช่วยให้คุณแม่ควบคุมน้ำหนักตัวเองไม่ให้มากเกินไปและน้อยเกินไป ดังสูตรตามนี้

BMI = น้ำหนัก หน่วย KG / ส่วนสูง หน่วย เมตร ยกกำลังสอง

ถ้าผล BMI ต่ำกว่า 19 ถือว่าน้ำหนักน้อยมาก ควรทำน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 12-18 กิโลกรัม

• 19-25 ถือว่าปกติ ควรทำน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 11-16 กิโลกรัม

• 25 ขึ้นไปถือว่าน้ำหนักเกิน ควรทำน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 7-11 กิโลกรัม

• มากกว่า 30 ถือว่าอ้วนแล้ว ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ค่า BMI ตั้งแต่ 27 ขึ้นไปแม่ท้องจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการกินมากขึ้น เพราะนอกจากจะเสี่ยงน้ำหนักตัวเกินแล้วอาจทำให้คลอดยากด้วย

ถ้าผล BMI ต่ำกว่า 19 ถือว่าน้ำหนักน้อยมาก ควรทำน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 12-18 กิโลกรัม

• 19-25 ถือว่าปกติ ควรทำน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 11-16 กิโลกรัม

• 25 ขึ้นไปถือว่าน้ำหนักเกิน ควรทำน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 7-11 กิโลกรัม

• มากกว่า 30 ถือว่าอ้วนแล้ว ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ค่า BMI ตั้งแต่ 27 ขึ้นไปแม่ท้องจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการกินมากขึ้น เพราะนอกจากจะเสี่ยงน้ำหนักตัวเกินแล้วอาจทำให้คลอดยากด้วย

กินอย่างไรให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์พอดี

1. คุณแม่ท้องที่หิวบ่อย ควรแบ่งอาหารมื้อใหญ่เป็นมื้อเล็กๆ ประมาณ 4-6 มื้อต่อวัน และควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ 

2. เลือกธัญพืชเป็นของว่าง โดยเฉพาะ ถั่ว เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต อาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยวิตามินและไฟเบอร์

3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนดึกอาจทำให้คุณแม่อ่อนเพลียและไม่อยากรับประทานอาหาร ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและน้ำหนักตัวไม่ขึ้น

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและหัวใจสูบฉีด เพิ่มอัตราการเผาผลาญมากขึ้น 

5. ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว น้ำมีผลต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ถ้าร่างกายขาดน้ำระบบเมตาบอลิซึมก็จะทำงานน้อยลงเช่นกัน

6. ทำใจให้หายหิว หากคุณแม่รู้สึกหิวขึ้นมา ทั้งๆ ที่รับประทานอาหารครบทุกมื้อแล้ว อาจหากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ เป็นต้น แต่ถ้าทำแล้วยังหิวอยู่ ขอให้เลือกกินผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้แทนการรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตค่ะ