นิวคลีโอไทด์คืออะไร นิวคลีโอไทด์ในนมแพะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไร ทำไมเด็กที่ดื่มนมที่มีส่วนผสมของ “นิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ” จึงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย
นิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ (Natural Nucleotide) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในนมแม่
- นิวคลีโอไทด์ เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอไซด์ (neucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต โดยนิวคลีโอไซด์ประกอบด้วยไนโตรจีนัสเบส กับน้ำตาลเพนโทส
- นิวคลีโอไทด์ สามารถสังเคราะห์หรือสร้างได้ทั้งในห้องทดลอง และในสิ่งมีชีวิต
- นิวคลีโอไทด์ เป็นส่วนสำคัญในการสร้าง DNA และ RNA มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
- นิวคลีโอไทด์ เป็นหนึ่งสารอาหารสำคัญที่อยู่ในนมแม่จากสารอาหารกว่า 200 ชนิดที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองลูก
- นิวคลีโอไทด์ดีกับร่างกายและพัฒนาการของลูก
- นิวคลีโอไทด์มีส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ทำให้เด็กเล็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมที่มีส่วนผสมของ “นิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติ” สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย
- นิวคลิโอไทด์ช่วยให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลำไส้อย่างสมบูรณ์ และช่วยซ่อมแซมลำไส้ที่ได้รับบาดเจ็บ
- นิวคลิโอไทด์ดีต่อระบบทางเดินอาหาร โดยพบว่าทารกที่ดื่มนมที่มีนิวคลิโอไทด์มีปริมาณของแบคทีเรียชนิดดี (Bifido Bacteria) ในลำไส้เพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะช่วยให้ลูกมีอาการท้องเสียลดลง
- นิวคลีโอไทด์ที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยพัฒนาการด้านสมอง ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ในการนำพาออกซิเจน และสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงเซลล์สมองด้วย มีผลต่อการทำงานของสมองในด้านความจำ
ทั้งหมดคือเหตุผลที่ ควรให้ลูกได้รับนิวคลีโอไทด์ในทุกวันจากนมแม่ นอกจากในนมแม่แล้ว ยังสามารถพบนิวคลีโอไทด์ตามธรรมชาติได้ในนมแพะ ซึ่งได้จากระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์ (Apocrine) แบบเดียวกับนมแม่ที่มีสารอาหารจากธรรมชาติปริมาณสูง นมแพะจึงมีส่วนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกให้สมบูรณ์แข็งแรง
Ref.
1. นิวคลิโอไทด์ในโภชนาการสำหรับทารก โดย น.พ.บัลลังก์ ศรีกฤษณรัตน์
2. Jennifer R. Hess, MS; and Norman A. Greenberg, PhD., Nutrition in Clinical Practice Volume 27 Number 2
April 2012 281-294
3. Heather J. et al, in Advances in Food and Nutrition Research, 2008
4. Sato et al, in Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry, 1995; 59:7, 1267-1271