

ดูแลตัวเองห่างไกลจากไข้หวัดใหญ่
ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อไวรัส H1N1 ไปจากเดิมมากทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันจึงเกิดการระบาดหรือติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นวงกว้าง โรคนี้มีความรุนแรงต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายเองได้ค่ะ ในคนไข้ปกติใช้เวลาประมาณ 3-5 วันแต่คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้นอาจใช้เวลานานกว่านั้น ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องดูแลสุขภาพกันหน่อยนะคะ ใครกันบ้างนะที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้บ้างหนอ
อาการ
อาการส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรงซึ่งดูจะคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดาคือเริ่มต้นมักมีไข้ ไอ น้ำมูก บางคนมีอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ท้ายที่สุดอาการก็จะหายไปเองได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดการอักเสบของปอด มีผลทำให้ปอดบวม การหายใจล้มเหลว อาการที่เกิดขึ้นนี้อาจจะรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้โดยมากมักจะเกิดกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ที่กล่าวมานี่แหละคะ
การรักษา
แพทย์และเภสัชกรจะรักษาและจ่ายยาตามอาการ อาจจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส (Tamiflu) เพิ่มโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาเป็นรายๆ ไป การใช้ยาโดยเฉพาะเด็กเล็ก คุณแม่ตั้งครรภ์และผู้สูงอายุนั้นควรใช้ยาอย่างระมัดระวังอย่างยิ่ง เช่น ตัวร้อนมีไข้ ควรได้รับยาลดไข้ อาการไอ ควรใช้ยาที่ไม่กดระบบประสาทส่วนกลาง อาทิ ตัวยาลีโวโดโปรปิซีน เป็นต้น อาการท้องเสียควรเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์ในการดูดซับ อาทิ ไดออคตะฮีดรอล สเมคไท (Dioctahedral Smectite) ชนิดผง โดยรับประทานห่างจากชนิดอื่นๆประมาณ 1.5-2 ชั่วโมงเป็นต้น ยาไดออคตะฮีดรอล สเมคไท (Dioctahedral Smectite) ชนิดผงนี้สามารถใช้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดรวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ได้เนื่องจากตัวยาออกฤทธิ์เฉพาะในลำไส้และไม่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
การป้องกัน
เมื่อมีคนในบ้านป่วยหรือสงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ต้องรีบพบแพทย์และจำเป็นต้องป้องกันการติดต่อ ดังนี้นะคะ
เมื่อรู้ข้อมูลของโรคแล้วเรื่องหวัดก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไปแล้วนะคะ
ข้อมูลโดย : ภญ.สุชาดา มั่งสูงเนิน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาลัยวิทยาลัยมหิดล,โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน (http://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/new/Influenza.html)
http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs211/en/