7 เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้เมื่อต้องดูแลลูกท้องเสีย
เด็กๆนั้นยังมีภูมิคุ้มกันน้อย แถมยังชอบหยิบของเข้าปากบ่อยๆ จนอาจได้รับเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสียได้ เมื่อลูกท้องเสีย คุณแม่ควรรู้ 7 เรื่องนี้เพื่อดูแลลูกเมื่อมีอาการท้องเสียค่ะ

อาการท้องเสียในเด็กอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ได้รับเชื้อไวรัสโรต้า ได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ติดอยู่ตามของเล่นที่ลูกหยิบเข้าปาก และเมื่อร่างกายลูกยังมีภูมิคุ้มกันน้อยจึงทำให้อาการท้องเสียอาจจะรุนแรงและทำให้คุณแม่กังวล นี่คือ 7 เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ เมื่อต้องดูแลลูกเมื่อมีอาการท้องเสียค่ะ
- รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เน้นอาหารจำพวกแป้ง มีปริมาณโปรตีนเล็กน้อย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเส้นใย ได้แก่ ผักและผลไม้ ลดปริมาณของอาหารแต่ละมื้อ และเพิ่มจำนวนมื้ออาหารแทน
- ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง โดยใช้ผงเกลือแร่ชนิดซองผสมในน้ำต้มสุกในสัดส่วนตามที่ระบุไว้ที่ซอง
- กรณีที่เด็กไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็คโตสในนมวัวได้ ควรเปลี่ยนนมชั่วคราวเป็นเวลา 3-7 วันโดยเลือกใช้นมสำหรับเด็กท้องเสียซึ่งจะไม่มีน้ำตาลแล็คโตส
- ไม่ควรใช้ยาแก้ท้องเสียหรือยาช่วยหยุดถ่ายกับเด็กเนื่องจากจะทำให้สารพิษหรือเชื้อโรคตกค้างในร่างกายนานขึ้น
- การใช้ยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางกลุ่มเช่น ยาในกลุ่ม antibiotic อาจมีประโยชน์ในกรณีอุจจาระมีมูกเลือดแต่ไม่ครอบคลุมถึงเชื้อโรตาไวรัส จึงควรปรึกษาแพทย์จะดีกว่า
- เลือกยาที่ปลอดภัยอาทิ กลุ่มดูดซับ (Absorbent antidiarrhea) ช่วยเรื่องจับเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส อาทิ ไดออกตะสเมคไท(Dioctahedralsmectite) ซึ่งออกฤทธิ์เฉพาะบริเวณทางเดินอาหารโดยปกป้องลำไส้ไม่ให้ถูกทำลาย จึงสามารถใช้ได้ทั้งแด็กแรกเกิดขึ้นไปแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้ยากับเบบี้วัย 1- 2 ปี ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
- กรณีมีอาการอาเจียนและปวดท้องร่วมด้วย อุจจาระมีมูกเลือด มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง มีอาการหอบเหนื่อย ซึมลง ไม่ปัสสาวะ ไข้สูง หากอาการท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน 4-5 วัน เป็นเรื้อรังหรือเป็นๆหายๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
ป้องกันลูกรักจากอาการท้องเสีย
- รักษาสุขอนามัยในเรื่องอาหารและน้ำดื่มรวมทั้งสิ่งของภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอก่อนนำมาใช้
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
- หากลูกกินนมผสม ควรต้มหรือนึ่งขวดนมและจุกนมนาน 5-10 นาทีก่อนใช้ทุกครั้ง
- รับประทานอาหารที่ทำสุกใหม่เสมอ และมีโภชนาการครบถ้วน
สำหรับเด็กที่เริ่มดื่มนมเสริมมากขึ้น การเลือกนมที่ดีและเหมาะสมกับอายุ รวมถึงการขับถ่ายก็เป็นเรื่องสำคัญค่ะ คุณแม่ควรเลือกนมแพะที่มี CPP* โปรตีน ย่อยง่าย ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี มีพรีไบโอติกที่เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ มีใยอาหารถึง 2 ชนิด คือ อินนูลินและโอลิโกฟลุคโตส ที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ลดอาการท้องผูกและการท้องเสียด้วย ทำให้สุขภาพลำไส้ลูกรักแข็งแรงเมื่อลูกน้อยสบายท้องก็พร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างเต็มที่แล้วค่ะ

Ref:1. Park et al. Small Ruminant Research 2007; 68: 88-113
2. Tsuchita et al. British Journal of Nutrition 2001; 85, 5-10