ปัญหาสุดกลุ้ม ลูกท้องอืด ท้องผูก เกิดจากอะไร ทำไงดี?

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

01 ตุลาคม 2564

อ่านแล้วจำนวน

3838

            การดูแลเรื่องขับถ่ายของลูกน้อย ไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามกันได้ง่าย ๆ เพราะระบบย่อยอาหารของเด็กเล็ก ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ จึงยังทำงานไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายยาก แม้ว่าปัญหาเหล่านี้จะดูไม่ร้ายแรงนัก แต่ก็อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง อารมณ์ และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของลูกได้ เพราะเมื่อลูกรู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายท้อง ก็ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใด คุณแม่จึงต้องหาวิธีรับมือและป้องกันอย่างถูกต้อง




ปกติเด็กขับถ่ายวันละกี่ครั้ง

            ทารกแรกเกิด ถึง อายุประมาณ 6 เดือน จะขับถ่ายค่อนข้างถี่ และอุจจาระค่อนข้างเหลว (แต่ไม่ใช่อาการท้องเสีย)  ความถี่ในการขับถ่ายของเด็กแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมที่ดื่ม อาหารที่รับประทาน และระบบขับถ่ายของเด็กแต่ละคน ลองมาดูกันว่าโดยเฉลี่ยแล้วเด็กทารกและจะมีการปัสสาวะและอุจจาระกี่ครั้งต่อวัน 


ความถี่โดยเฉลี่ยในการปัสสาวะและอุจจาระในแต่ละวันของเด็กทารกและเด็กเล็ก



อาการที่สังเกตได้ว่าลูกน้อยกำลังท้องอืด ท้องผูก 

1. เวลาถ่ายอุจจาระลูกจะเบ่งจนหน้าแดง บิดหรือเกร็งตัว และร้องไห้หนัก 

2. อุจจาระที่ถ่ายมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง มีเลือดปนออกมา ก้นมีเลือดออก 

3. ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และเป็นติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

4. กินอาหารได้น้อย เพราะรู้สึกอิ่มเร็ว หน้าท้องแข็งตึง  

5. เด็กบางคนอาจจะงอแงและกลัวการนั่งกระโถนหรือชักโครก เนื่องจากรู้สึกเจ็บเมื่อต้องขับถ่าย 


เปิดสาเหตุทำลูกน้อยท้องอืด ท้องผูก เกิดจากอะไร?

    ทารกท้องผูกมีอาการอย่างไร? โดยทั่วไปแล้ว ทารกแต่ละคนมีความถี่ในการขับถ่ายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเด็กดื่มนมแม่หรือนมชง หัดรับประทานอาหารได้หรือยัง และรับประทานอาหารอะไรไปบ้าง พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการหรือความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่าย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยท้องอืด ท้องผูก มีดังนี้

1. นมหรืออาหารไม่ย่อย ย่อยยาก เกิดจากดื่มนมหรือกินอาหารที่อาจจะย่อยยาก เมื่อระบบย่อยของลูกยังทำงานไม่ดี ทำให้ร่างกายย่อยนมที่มีโปรตีนขนาดใหญ่กับไขมันบางชนิด และน้ำตาลแลคโตสได้ยาก จึงทำให้ลูกเกิดอาการท้องอืดได้

2. ดูดนมผิดวิธี เด็กที่ดูดขวดนม หรือจุกหลอกจะมีลมมากกว่าดูดนมแม่จากเต้านมโดยตรง ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ รวมทั้งการดูดนมผิดวิธี เช่น ดูดเร็วไป หรือ ดูดนานเกินไปก็ทำให้มีลมเข้าไปในท้องมาก

3. ร้องไห้มากเกินไป การอ้าปากนานๆ ทำให้มีลมเข้าไปในท้องได้จำนวนมาก เมื่อลูกร้องไห้เป็นเวลานาน อาจทำให้ลมเข้าไปในช่องทางมาเกินจนท้องอืดได้ หรือบางครั้งก็มีอาการสะอึกด้วย

4. ระบบย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์ เด็กทารกยิ่งในช่วง 6 เดือนแรก ระบบย่อยอาหารต่าง ๆ ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ แค่เพียงกินนมก็อาจจะทำให้เกิดภาวะท้องอืด ท้องผูกได้ง่าย


ป้องกันลูกท้องอืด ท้องผูกได้อย่างไร

1. ดูดนมจากเต้านมแทนขวดนม เวลาลูกดูดนมจากเต้านมแม่ ลูกจะมีโอกาสเกิดการท้องอืดได้น้อยกว่า และนมแม่ยังเป็นนมที่มีโปรตีนขนาดเล็กย่อยง่าย ทำให้ลูกไม่มีปัญหาท้องอืด

2. ให้ลูกดูดนมในท่าที่ถูกต้อง จัดท่าทางการดูดนมให้เหมาะสม ให้ศีรษะยกสูงขึ้นกว่าลำตัวเล็กน้อย 

3. ไม่ปล่อยให้ลูกหิวเกินไป เมื่อลูกหิวจะทำให้ลูกดูดเร็วขึ้น ทำให้มีโอกาสกลืนลมเข้าไปในท้องได้มาก

4. ให้ลูกดื่มนมที่ย่อยง่าย ในนมแพะมีอะโพไครน์ คล้ายนมแม่ มีโปรตีนย่อยง่าย สบายท้อง และยังมีพรีไบโอติกหรือใยอาหาร 2 ชนิด ดีต่อการขับถ่าย อย่าง อินนูลิน (Inulin) และ โอลิโกฟลุคโตส (Oligofructose) เป็นแหล่งอาหารสำคัญของจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่ส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ ลูกอุจจาระนุ่ม ลดปัญหาท้องผูก




            อาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กเล็ก คือ นมแม่ เพราะนอกจากจะมีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายอย่างครบถ้วนแล้ว น้ำนมแม่ยังส่งผลดีต่อระบบขับถ่ายของลูกน้อยด้วย สำหรับแม่บางคนอาจมีความจำเป็นบางอย่างที่ไม่สามารถให้นมลูกได้หรือให้ได้ไม่นานตามที่ตั้งใจ สามารถให้ลูกดื่มนมแพะ ที่มีอะโพไครน์คล้ายนมแม่ได้ เพราะนมแพะให้สารอาหารครบถ้วนจากธรรมชาติ มีโปรตีนย่อยง่าย และพรีไบโอติก ช่วยลดปัญหาลูกท้องอืด ท้องผูก ลูกน้อยก็จะเติบโตสมวัย มีพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และอารมณ์ที่ดี พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างเต็มที่!

บทความที่เกี่ยวข้อง