ทารกตัวเหลือง อันตรายไหม? ป้องกันได้อย่างไร?

เขียนโดย

DG Smartmom

เผยแพร่เมื่อ

01 เมษายน 2564

อ่านแล้วจำนวน

624

ลูกตัวเหลืองอาจเป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับพ่อแม่มือใหม่ แต่หากทำความรู้จักให้ดี ภาวะตัวเหลืองนี้มีที่มาที่ไป และสามารถรักษาให้หายได้ 

คุณแม่หลายคนที่อาจจะจินตนาการว่าภาวะที่ทารกตัวเหลืองเป็นภาวะที่ลูกเราตัวสีเหลืองเหมือนทาขมิ้นชัน ทั้งที่จริงแล้วเนื้อตัวลูกไม่ได้มีสีออกเหลืองชัดขนาดนั้นค่ะ ส่วนจะเป็นอันตรายต่อลูกหรือไม่ มาทำความรู้จักภาวะทารกตัวเหลืองกันเลยค่ะ 

สาเหตุที่เด็กทารกตัวเหลือง

ภาวะทารกตัวเหลืองหลังคลอด เป็นภาวะที่ร่างกายมีสารบิลิรูบิน (Bilirubin) หรือสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งบิลิรูบินนี้เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง มีตับทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสารสีเหลืองให้ขับออกทางท่อน้ำดี โดยจะออกมากับอุจจาระและปัสสาวะด้วย

ภาวะตัวเหลืองของเด็กทารกหลังคลอดจะมี 2 กลุ่มคือ

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ 

ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับทารกหลังคลอด โดยเฉพาะ 2-3 วันแรก เนื่องจากมีสาร “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกายของคนเรา ดังนั้นแม้ว่าเด็กทารกจะมีสุขภาพแข็งแรงดีก็อาจมีภาวะตัวเหลืองได้ และมักจะหายตัวเหลืองเมื่ออายุ 5-7 วัน  

2. ภาวะตัวเหลืองที่ผิดปกติ 

- กลุ่มเลือดของแม่กับลูกไม่สัมพันธ์กัน มักพบในคู่ที่แม่มีเลือดหมู่โอกับลูกหมู่เลือดเอหรือบี หรือ คู่ที่แม่มีหมู่เลือด Rh ลบกับลูกหมู่เลือด Rh บวก

- ขาดเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง ชื่อ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ

- เด็กทารกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ

- ปัญหาอื่นๆ เช่น โรคท่อน้ำดีตีบ โรคตับ ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กําเนิด ฯลฯ

ภาวะลูกตัวเหลืองสังเกตได้

สังเกตจากตาของลูกทารกจะดูมีสีเหลือง ผิวหนังก็ออกสีเหลืองเช่นกัน เด็กบางคนมีบิลิรูบินไม่เท่ากัน คุณแม่อาจใช้วิธีสังเกตลักษณะผิวของลูก หากลูกมีภาวะตัวเหลืองที่เด่นชัด ต้องรีบพาไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นภาวะตัวเหลืองที่เกิดจากสาเหตุอื่น 


การรักษา

หากลูกเกิดจากภาวะตัวเหลืองปกติ ภายใน 5-7 วัน อาการจะหายไปเอง คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องทำอะไรค่ะ  แต่ในกรณีที่ตัวเหลืองชัดเจน และตรวจพบว่ามีระดับบิลิลูบินสูงจนอาจเกิดอันตรายได้ คุณหมอจะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น การส่องไฟรักษา หรือกรณีที่ระดับบิลิรูบินมีค่าสูงมากๆ เด็กทารกอาจต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด 

วิธีป้องกัน

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คือการฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ จะช่วยให้คุณหมอตรวจประเมินความเสี่ยงและตรวจเลือดหาความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือตรวจหาภาวะติดเชื้อต่างๆ ของคุณแม่ เพราะโรคบางอย่างถ้าตรวจพบได้เร็ว ก็สามารถรักษาได้หลังคลอด

สำหรับคุณแม่ให้นม ควรให้ลูกได้ดูดนมเร็วที่สุด ให้ลูกดูดบ่อยๆ เพราะจะทำให้ลำไส้ของลูกเคลื่อนตัวทำงานได้ดี ช่วยขับสารสีเหลืองออกไป 

นอกจากนี้ในนมแม่ยังมีระบบการสร้างน้ำนมแบบอะโพไคร์น ทีให้สารอาหารจากธรรมชาติในปริมาณสูง ทั้งนิวคลีโอไทด์ (nucleotides) โพลีเอมีนส์ (polyamines) และกรดอะมิโนอิสระ (free amino acid) โกรทแฟคเตอร์ (growth factor) ที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต และภูมิคุ้มกันร่างกายของลูกทารก

การดูแลสุขภาพของคุณแม่ทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมก็สำคัญ คุณแม่ควรดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่และหลากหลาย ก็ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้คุณแม่และลูกทารกหลังคลอดแล้วค่ะ